⏩ CCE CarbonCredits

                    

                              ลิงค์สมัคร
                              เข้าสู่ระบบ
                          ติดตามข่าวสาร
                             CCE คืออะไร
                            เกี่ยวกับบริษัท
                            ติดต่อสอบถาม

  พระราชบัญญัติบริษัทธุรกิจระหว่างประเทศของสาธารณรัฐเซเชลส์ พ.ศ. 2559 (พระราชบัญญัติ 15 พ.ศ. 2559) ใบรับรอง GN Corporation    



คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดหรือกักเก็บไว้ ไม่ปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมจากการดำเนินโครงการและได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่ให้การรับรอง สำหรับคาร์บอนเครดิตในประเทศไทยจะได้จากการดำเนินการผ่านโครงการ Thailand Voluntary Emissions Reduction (T-VER) และได้รับการรับรองจากคณะกรรมการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก โดยที่ คาร์บอนเครดิต มีหน่วยเป็น “ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2eq)”


ปริมาณคาร์บอนเครดิตที่ได้จากการดำเนินโครงการจะถูกประเมินมูลค่าเป็นจำนวนเงิน (ราคา) ต่อ tCO2eq และสามารถนำไปซื้อขายในตลาดคาร์บอนกับหน่วยงานหรือองค์กรที่ต้องการคาร์บอนเครดิตไปชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Carbon Offsetting) ทั้งในระดับองค์กร ผลิตภัณฑ์ และการจัดอีเวนต์


โครงการลดก๊าซเรือนกระจกที่สามารถพัฒนาเป็นโครงการ T-VER ได้ ต้องเข้าข่ายประเภทโครงการ ดังต่อไปนี้


การพัฒนาพลังงานทดแทน เช่น การผลิตหรือใช้พลังงานหมุนเวียน การปรับเปลี่ยนเชื้อเพลิง

การเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน เช่น การใช้อุปกรณ์เครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพสูง การนำความร้อนหรือความเย็นเหลือทิ้งกลับมาใช้ประโยชน์ การเพิ่มประสิทธิภาพระบบผลิตพลังงานไฟฟ้า ระบบความร้อนหรือระบบความเย็น

การจัดการในภาคขนส่ง เช่น การเปลี่ยนรูปแบบการเดินทาง การใช้เชื้อเพลิงชีวภาพในการคมนาคมขนส่ง การใช้ยานพาหนะไฮบริด / ไฟฟ้า

การจัดการของเสีย เช่น การหลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซมีเทนจากน้ำเสีย การคัดแยกและนำกลับคืนขยะพลาสติก การผลิตปุ๋ย / สารปรับปรุงดินจากขยะอินทรีย์

การเกษตร เช่น การใช้ปุ๋ยอย่างถูกวิธี การปลูกพืชเกษตรยืนต้น

การปลูกป่า / ต้นไม้

การอนุรักษ์ / ฟื้นฟูป่า


ตลาดคาร์บอน (Carbon Market) เป็นแหล่งที่ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อนำสินค้าที่เรียกว่าคาร์บอนเครดิตมาทำการซื้อขายแลกเปลี่ยนสำหรับนำไปชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อมสำหรับหน่วยงาน องค์กร กิจกรรมต่าง ๆ ที่ไม่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ด้วยตนเอง โดยการกำหนดราคาคาร์บอนเครดิต อยู่บนพื้นฐานของการคำนึงถึงผลกระทบของการปล่อยมลภาวะสู่สิ่งแวดล้อม ผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคม อีกทั้งต้นทุนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง


ตลาดคาร์บอน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่


ตลาดคาร์บอนภาคบังคับ (Mandatory Carbon Market) ตั้งขึ้นจากผลบังคับในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามกฎหมาย มีกฎหมายและกฎระเบียบที่กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและรายละเอียดเกี่ยวกับการซื้อขายกำกับอย่างชัดเจน ซึ่งต้องมีรัฐบาลออกกฎหมายและเป็นผู้กำกับดูแลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ตลาดคาร์บอนแบบภาคสมัครใจ (Voluntary Carbon Market) ตั้งขึ้นโดยไม่มีกฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมก๊าซเรือนกระจกมาบังคับ เกิดขึ้นจากความร่วมมือกันของผู้ประกอบการหรือองค์กรเพื่อเข้าร่วมซื้อขายคาร์บอนเครดิตในตลาดด้วยความสมัครใจ โดยอาจจะมีการตั้งเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของตนเองโดยสมัครใจ (Voluntary) แต่ไม่ได้มีผลผูกพันตามกฎหมาย (Non-legally Binding Target)


สถานการณ์ตลาดคาร์บอนในประเทศไทย


ตลาดคาร์บอนถูกกำหนดไว้ในร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 และแผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2558-2593 โดยปัจจุบันมีโครงการลดก๊าซเรือนกระจกที่มีการขายคาร์บอนเครดิตในตลาดคาร์บอนเกิดขึ้นแล้วตั้งแต่ปีงบประมาณ 2557 อยู่ในรูปแบบตลาดคาร์บอนแบบภาคสมัครใจ (Voluntary Carbon Market) ภายใต้องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์กรมหาชน) โดยที่สถิติการซื้อขายคาร์บอนเครดิต ในช่วงปี พ.ศ. 2562-2565 ราคาเฉลี่ยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งล่าสุด (พ.ศ. 2565) ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 77 บาทต่อตัน ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีของ SME ในการหันมาจัดทำคาร์บอนเครดิตเพื่อสร้างรายได้ที่ยั่งยืนควบคู่กับการดำเนินธุรกิจ สำหรับผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://carbonmarket.tgo.or.th/


แนวโน้ม ตลาดคาร์บอนเครดิต ของประเทศไทยในอนาคตจะเป็นไปในทิศทางใด


ความต้องการคาร์บอนเครดิตในอนาคตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมาก จากกระแสความตื่นตัวและความมุ่งมั่นทั้งในระดับประเทศและระดับองค์กรที่มีการตั้งเป้าหมายที่จะเป็น Carbon Neutrality และ Net Zero Emissions และความต้องการคาร์บอนเครดิตเพื่อชดเชยในภาคบริการทั้งการจัดอีเวนต์และภาคการท่องเที่ยว


สรุปผลการคาดการณ์ความต้องการคาร์บอนเครดิตจากกิจกรรมชดเชยคาร์บอนประเภทต่าง ๆ ของประเทศไทยพบว่าจะมีความต้องการรวมประมาณ 182-197 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี หรือมีความต้องการรวมถึงปี ค.ศ. 2030 ที่ 1,823-1,973 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า


จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า แม้ว่าจะมีปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการตัดสินใจดำเนินโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผู้ประกอบการและ SME ก็ตาม แต่ภาคธุรกิจหรือหน่วยงานต่าง ๆ ก็ควรทำการซื้อขายคาร์บอนเครดิตและควรดำเนินธุรกิจที่ดีด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างโอกาส สร้างมูลค่าเพิ่ม และสร้างผลตอบแทนในรูปตัวเงินให้กับธุรกิจ อันส่งผลให้การดำเนินธุรกิจมีความยั่งยืนในที่สุด


แหล่งข้อมูล

https://www.tris.co.th/carbon-credit/

องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน), เอกสารประกอบการสัมมนาการพัฒนาโครงการ “ลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย” (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER) และตัวอย่าง, วันที่ 16 กรกฎาคม 2565

https://www.bangkokbanksme.com/en/6sme3-carbon-credit

https://ghgreduction.tgo.or.th/th/about-tver/tver-type.html


Cr.ขอบคุณบทความจาก

นุสรา จริยะสกุลโรจน์